เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ และหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[106] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[107] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัย
แก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย ฯลฯ โดยอาเสวนปัจจัย
ฯลฯ (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :761 }